วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประมวลภาพบ่อขยะอุตสาหกรรม



บ่อฝังกลบขยะอุตสาหกรรม (บ.ศูนย์กำจัดของเสียไทย จำกัด) หมู่ ๑๒ ปี ๒๕๕๒



บ่อขยะฝังกลบสูงส่งกลิ่นเหม็น (ขยะอุตสาหกรรม)



บ่อเก็บน้ำเสียบริษัทรีไซเคิลน้ำมัน ปี ๕๒ ชาวนาร้องเรียนน้ำมันใหลลงสู่พื้นที่นาข้าว



โรงงานรีไซเคิลกระดาษน้ำเสียไหลออกสู่พื้นที่สวนชาวบ้าน ๓๐ เมษายน ๒๕๕๓ ( หมู่ ๑๔ )


การลักลอบทิ้งน้ำเสียพื้นที่สาธารณะและชาวบ้าน



เดือน ๖ ปี ๕๓ บ่อน้ำเสียโรงงานน้ำมันไหลซึมออกพื้นที่ชาวนา กรมควบคุมมลพิษเก็บตัวอย่างน้ำ ดิน วิเคราะห์


น้ำเสียลงคลองชลประทาน เดือน ๘ ปี ๕๓


น้ำเหม็น ปลาตาย ( ที่ดินเขตชลประทาน )


มีการต่อท่อจากโรงงานออกสู่ที่ชลประทาน


พื้นที่ถูกลักลอบทิ้งของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม


จุดลักลอบทิ้งบ่อ ๑๕ ไร่ ( หมู่ ๗ หนองแหน )


บริษัท ศูนย์กำจัดของเสียไทย จำกัด หมู่ ๑๒ ( บ่อฝังกลบ )


เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อน โดย ม.นเรศวร และ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม


เก็บตัวอย่างน้ำบ่อตื้นชาวบ้านวิเคราะห์การปนเปื้อน สารฟินอล โดย สนง.สิ่งแวดล้อมภาค ๑๓ ชลบุรี


บทบาทของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นพื้นที่และผลที่เกิดขึ้น

  • สำนักงานสิ่งแวดล้อมจังหวัด ( ทำหน้าเสมือนหน่วยดำเนินงานรับเรื่อง รวบรวมติดตามผล )
  • สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ( ผู้แทนกรมโรงงานและเลขาคณะทำงาน )
  • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ( ตรวจสุขภาพ เลือด ปัสสาวะ )
  • ที่ดิน ( ไม่เคลื่อนงาน )
  • ไฟฟ้า ( ไม่เคลื่อนงาน )
  • กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ( เจาะบ่อเฝ้าระวัง สร้างระบบน้ำดื่ม เก็บน้ำตรวจวิเคราะห์ )
  • กรมโรงงานอุสาหกรรม ( การกำกับดูแล ฯลฯ )
  • กรมควบคุมมลพิษ  ( เก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์วัดคุณภาพดิน น้ำ อากาศ และเฝ้าระวัง )
  • กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ( เก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ดิน อากาศ จัดทำแผนการแพร่กระจายและแผนการบำบัดฟื้นฟู )
  • กรมสอบสวนคดีพิเศษ ( ติดตามกระตุ้นปัญหา ระยะแรกๆ )
  • สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค๑๓ชลบุรี ( เก็บตัวอย่าง ดิน น้ำ ตรวจวิเคราะห์ )
  • ชุมชน ( ความร่วมมือ รู้รักสามัคคี ภาวะผู้นำ ฯลฯ )
  • สื่อทีวี หนังสือพิมพ์ วิทยุ ( นำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง )

แนวทางการแก้ไขปัญหาของชุมชน

       นับตั้งแต่ที่มีชุมชนหนองแหนได้รับผลกระทบจากปัญหาการ ทิ้งและตกเป็นแหล่งกำจัดขยะทั้งอันตรายและไม่อันตราย รวมถึงการลักลอบทิ้งผิดกฎหมายพวกเขาก็ได้รวมตัวกันเรียกร้องและประสานหน่วยงานรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรมทรัพยากรนํ้าบาดาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กรวมควบคุมมลพิษ (คพ.) กรมอนามัย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) สาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา อุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา สิ่งแวดล้อมจังหวัดฉะเชิงเทรา อบต.หนองแหน สภอ.หนองแหน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งหน่วยงานอีกหลายหน่วยงานและสื่อมวลชนอีกหลายสำนัก
       ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้เริ่มทำงานร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาพื้นที่ปนเปื้อน ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2555 โดยมีการลงพื้นที่เพื่อสำรวจสถานการณ์ปัญหา เก็บข้อมูลต่างๆ ร่วมกับชุมชนและได้มีการประสานการทำงานไปยังภาคีเครือข่าย เช่น มหาวิทยาลัยนเรศวร กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ดังกล่าวร่วมกัน
       การวางแนวทางการทำงานเบื้องต้นนำเอาแนวคิดในเรื่องของการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพมาปรับใช้ โดยมีการพัฒนากระบวนการข้อมูล ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพของชุมชนและสร้างการเรียนรู้ในประเด็นดังกล่าวทั้งในระดับชุมชน และสู่แวดวงต่างๆ สช. ได้นำเครือข่ายนักวิชาการเอชไอเอร่วมเรียนรู้ในพื้นที่ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2556 จากนั้นในเดือนกรกฎาคม 2556 ทางชุมชน ได้มีการศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องสารพิษการตรวจวัดและแนวทางการฟื้นฟูจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมและมหาวิทยาลัยนเรศวร นอกจากนี้ชุมชนก็มีส่วนร่วมในการเก็บตัวอย่างดิน นํ้าและตะกอนดินเพื่อนำมาใช้ในการตรวจวิเคราะห์
       เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2556 สช. ร่วมกับศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะ แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเครือข่ายนักวิชาการ เอชไอเอ จัดสัมมนา “แนวทางและมาตรการบำบัดฟื้นฟู การปนเปื้อนสารพิษในพื้นที่ตำบลหนองแหน” เพื่อนำ เสนอผลจากการ ตรวจวิเคราะห์และข้อเสนอแนะต่อการบำบัดฟื้นฟูในพื้นที่ต่อคณะทำงานระดับจังหวัด และหน่วยงานรับผิดชอบในระดับต่างๆ ต่อไป


แนวทางการแก้ปัญหาของกลุ่ม

แก้ปัญาหาแบบสันติวิธี
       ให้ชุมชนกับเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมประชุมร่วมกันโดยมีคนกลางที่มีอำนาจสูงเป็นผู้ตัดสิน
รวมถึงการทำข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้โรงงานอยู่ร่วมกันกับชุมชนได้

แก้ปัญหาแบบใช้คนกลาง
       ให้ผู้มีอำนาจตัดสินชี้ขาด เช่น นายกรัฐมนตรี ผู้มีอำนาจในเขตตำบลหนองแหน






     

Stakeholders | ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders)
แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง (Primary stakeholders) เป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจหรือโครงการและได้รับผลกระทบโดยทางตรงทั้งทางบวก (ผู้ได้รับประโยชน์และทางลบ คือ
             - ชาวบ้าน
2. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอง (Secondary stakeholders) คือ
- หน่วยงานภาครัฐ
- สื่อสำนักข่าว
3. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก (Key stakeholders) คนที่มีอิทธิพลหรือมีความสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการหรือความอยู่รอดขององค์การ คือ
            - กลุ่มโรงงานรับกำจัดขยะ






กฎหมาย

พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
มาตรา 37 : ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการโรงงานที่มีสภาพที่ก่อให้เกิดอันตราย ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งระงับการกระทำ ให้ไปปรับปรุงหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง

มาตรา 39 : ผู้ประกอบการใดไม่ทำตามพระราชบัญญัติโรงงานมาตรา 37 มีสภาพที่ก่อให้เกิดอันตราย ให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ สั่งให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานนั้นหยุดประกอบกิจการโรงงานทันที 

แหล่งอ้างอิง

แหล่งข่าวที่มา http://www.thia.in.th/uploads/file/2014%20Febuary_aor/nhongnae%20final%20febuary%2014.pdf

แหล่งที่มาของข่าว : http://www.thairath.co.th/content/485212

แหล่งข้อมูลเอกสาร : นายจร เนาวโอภาส สมาชิกอบต. หนองแหน