วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การเปลี่ยนแปลงที่คืบคลาน

       ประมาณปี 2545 ชุมชนเริ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงในชุมชนเริ่มมีนายทุนจากภายนอกเข้ามาหาซื้อที่ดินเพื่อขุดหน้าดินขาย ในขณะนั้น ชุมชนเห็นว่าถึงแม้จะมีการตักดินไป แต่ก็ยังสามารถใช้น้ำในบ่อได้ ทำให้ไม่ขาดแคลนนํ้า ทำให้เกิดบ่อดินร้างกระจายอยู่โดยรอบชุมชน ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็เริ่มมีนายทุนอีกกลุ่มเข้ามาซื้อที่ดินบ่อลูกรังร้างเพื่อฝังกลบขยะ โดยได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง หากขยะจำ นวนมากขึ้นๆ ที่นำมาฝังกลบภายในพื้นที่ก็ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นรุนแรง และฝุ่นที่ฟุ้งกระจาย ไปทั่วบริเวณ
       ต่อมามีเริ่มมีบริษัทรีไซเคิลนํ้ามัน และบริษัทและรับกำจัดของเสียอันตราย เข้ามาเปิดดำเนินการในพื้นที่ชุมชนได้มีการยื่นหนังสือคัดค้านการเปิดกิจการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากกลิ่นเหม็นและน้ำ เสีย มีการพาสื่อมวลชนลงพื้นที่เพื่อให้เห็นสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น จนกระทั่งปี 2555 ชาวบ้านเริ่มสังเกตเห็นว่ามีรถบรรทุกวิ่งเข้าออกในชุมชนเป็นปริมาณมาก จนเกิดกรณีรถติดขณะที่ชาวบ้านไปทำงานในสวน ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2555 ชาวบ้านตำบลหนองแหนได้แจ้งตำรวจให้จับกุมรถบรรทุกที่ลักลอบทิ้งนํ้าเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมในบ่อดินลูกรังขนาด 15 ไร่ การทิ้งนํ้าเสียในพื้นที่ตำบลหนองแหน มีทั้งการทิ้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และการลับลอบทิ้งนํ้าเสีย
       ความเคลื่อนไหวของชุมชนต่อกรณีดังกล่าว มีทั้งการร้องเรียนต่อ อบต.จังหวัด จนถึงการยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อให้รับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดเพื่อแก้ไขปัญหา และคณะกรรมการระดับอำเภอตรวจสอบติดตาม และเมื่อปัญหาได้กลับมาสู่การรับรู้ของสาธารณชนอีกครั้งหนึ่งก็มีหลายหน่วยงานทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นกรม สอบสวนคดีพิเศษ กรมทรัพยากรนํ้าบาดาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ กรมอนามัย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด มหาวิทยาลัยนเรศวรสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น
       ข้อมูลจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แสดงให้เห็นว่า มีการลับลอบทิ้งกากของเสียอันตรายหลายจุดทั้งในตำบลหนองแหนและใกล้เคียง โดยพื้นที่หนองแหนมีจุดเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมีอันตรายในสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 
       1.โรงงานรีไซเคิลนํ้ามันซึ่งตั้งอยู่ติดกับคลองชลประทาน ตรงกันข้ามกับจุดสูบนํ้า เพื่อทำนํ้าประปาหมู่บ้าน และโรงงานรับกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรมซึ่งตั้งอยู่ติดริมลำห้วยตาดน้อยที่ไหลไปยังหมู่บ้าน
       2. หลุมฝังกลบขยะทั้งขยะจาก กทม. และกากของเสียจากโรงงาน 
       3. บ่อดินลูกรังซึ่งมีการลักลอบทิ้งกากของเสีย ข้อมูลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างนํ้าของกรมทรัพยากรนํ้าบาดาล พบว่ามีการปนเปื้อนสารอันตราย โดยเฉพาะสารประกอบจำพวกฟีนอลในบ่อนํ้าตื้นหลายบ่อในลักษณะ กระจายทั่วพื้นที่หนองแหน จึงได้ห้ามชาวบ้านนำมาใช้บริโภค บางบ่อสามารถบริโภคได้ หากมีการบำบัดลดปริมาณเหล็กและแมงกานีสก่อน ทั้งนี้ข้อมูลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง นํ้าของกรมโรงงานอุตสาหกรรมและกรมควบคุมมลพิษก็มีผลไปในทิศทางเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น