วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประมวลภาพบ่อขยะอุตสาหกรรม



บ่อฝังกลบขยะอุตสาหกรรม (บ.ศูนย์กำจัดของเสียไทย จำกัด) หมู่ ๑๒ ปี ๒๕๕๒



บ่อขยะฝังกลบสูงส่งกลิ่นเหม็น (ขยะอุตสาหกรรม)



บ่อเก็บน้ำเสียบริษัทรีไซเคิลน้ำมัน ปี ๕๒ ชาวนาร้องเรียนน้ำมันใหลลงสู่พื้นที่นาข้าว



โรงงานรีไซเคิลกระดาษน้ำเสียไหลออกสู่พื้นที่สวนชาวบ้าน ๓๐ เมษายน ๒๕๕๓ ( หมู่ ๑๔ )


การลักลอบทิ้งน้ำเสียพื้นที่สาธารณะและชาวบ้าน



เดือน ๖ ปี ๕๓ บ่อน้ำเสียโรงงานน้ำมันไหลซึมออกพื้นที่ชาวนา กรมควบคุมมลพิษเก็บตัวอย่างน้ำ ดิน วิเคราะห์


น้ำเสียลงคลองชลประทาน เดือน ๘ ปี ๕๓


น้ำเหม็น ปลาตาย ( ที่ดินเขตชลประทาน )


มีการต่อท่อจากโรงงานออกสู่ที่ชลประทาน


พื้นที่ถูกลักลอบทิ้งของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม


จุดลักลอบทิ้งบ่อ ๑๕ ไร่ ( หมู่ ๗ หนองแหน )


บริษัท ศูนย์กำจัดของเสียไทย จำกัด หมู่ ๑๒ ( บ่อฝังกลบ )


เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อน โดย ม.นเรศวร และ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม


เก็บตัวอย่างน้ำบ่อตื้นชาวบ้านวิเคราะห์การปนเปื้อน สารฟินอล โดย สนง.สิ่งแวดล้อมภาค ๑๓ ชลบุรี


บทบาทของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นพื้นที่และผลที่เกิดขึ้น

  • สำนักงานสิ่งแวดล้อมจังหวัด ( ทำหน้าเสมือนหน่วยดำเนินงานรับเรื่อง รวบรวมติดตามผล )
  • สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ( ผู้แทนกรมโรงงานและเลขาคณะทำงาน )
  • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ( ตรวจสุขภาพ เลือด ปัสสาวะ )
  • ที่ดิน ( ไม่เคลื่อนงาน )
  • ไฟฟ้า ( ไม่เคลื่อนงาน )
  • กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ( เจาะบ่อเฝ้าระวัง สร้างระบบน้ำดื่ม เก็บน้ำตรวจวิเคราะห์ )
  • กรมโรงงานอุสาหกรรม ( การกำกับดูแล ฯลฯ )
  • กรมควบคุมมลพิษ  ( เก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์วัดคุณภาพดิน น้ำ อากาศ และเฝ้าระวัง )
  • กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ( เก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ดิน อากาศ จัดทำแผนการแพร่กระจายและแผนการบำบัดฟื้นฟู )
  • กรมสอบสวนคดีพิเศษ ( ติดตามกระตุ้นปัญหา ระยะแรกๆ )
  • สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค๑๓ชลบุรี ( เก็บตัวอย่าง ดิน น้ำ ตรวจวิเคราะห์ )
  • ชุมชน ( ความร่วมมือ รู้รักสามัคคี ภาวะผู้นำ ฯลฯ )
  • สื่อทีวี หนังสือพิมพ์ วิทยุ ( นำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง )

แนวทางการแก้ไขปัญหาของชุมชน

       นับตั้งแต่ที่มีชุมชนหนองแหนได้รับผลกระทบจากปัญหาการ ทิ้งและตกเป็นแหล่งกำจัดขยะทั้งอันตรายและไม่อันตราย รวมถึงการลักลอบทิ้งผิดกฎหมายพวกเขาก็ได้รวมตัวกันเรียกร้องและประสานหน่วยงานรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรมทรัพยากรนํ้าบาดาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กรวมควบคุมมลพิษ (คพ.) กรมอนามัย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) สาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา อุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา สิ่งแวดล้อมจังหวัดฉะเชิงเทรา อบต.หนองแหน สภอ.หนองแหน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งหน่วยงานอีกหลายหน่วยงานและสื่อมวลชนอีกหลายสำนัก
       ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้เริ่มทำงานร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาพื้นที่ปนเปื้อน ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2555 โดยมีการลงพื้นที่เพื่อสำรวจสถานการณ์ปัญหา เก็บข้อมูลต่างๆ ร่วมกับชุมชนและได้มีการประสานการทำงานไปยังภาคีเครือข่าย เช่น มหาวิทยาลัยนเรศวร กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ดังกล่าวร่วมกัน
       การวางแนวทางการทำงานเบื้องต้นนำเอาแนวคิดในเรื่องของการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพมาปรับใช้ โดยมีการพัฒนากระบวนการข้อมูล ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพของชุมชนและสร้างการเรียนรู้ในประเด็นดังกล่าวทั้งในระดับชุมชน และสู่แวดวงต่างๆ สช. ได้นำเครือข่ายนักวิชาการเอชไอเอร่วมเรียนรู้ในพื้นที่ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2556 จากนั้นในเดือนกรกฎาคม 2556 ทางชุมชน ได้มีการศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องสารพิษการตรวจวัดและแนวทางการฟื้นฟูจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมและมหาวิทยาลัยนเรศวร นอกจากนี้ชุมชนก็มีส่วนร่วมในการเก็บตัวอย่างดิน นํ้าและตะกอนดินเพื่อนำมาใช้ในการตรวจวิเคราะห์
       เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2556 สช. ร่วมกับศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะ แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเครือข่ายนักวิชาการ เอชไอเอ จัดสัมมนา “แนวทางและมาตรการบำบัดฟื้นฟู การปนเปื้อนสารพิษในพื้นที่ตำบลหนองแหน” เพื่อนำ เสนอผลจากการ ตรวจวิเคราะห์และข้อเสนอแนะต่อการบำบัดฟื้นฟูในพื้นที่ต่อคณะทำงานระดับจังหวัด และหน่วยงานรับผิดชอบในระดับต่างๆ ต่อไป


แนวทางการแก้ปัญหาของกลุ่ม

แก้ปัญาหาแบบสันติวิธี
       ให้ชุมชนกับเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมประชุมร่วมกันโดยมีคนกลางที่มีอำนาจสูงเป็นผู้ตัดสิน
รวมถึงการทำข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้โรงงานอยู่ร่วมกันกับชุมชนได้

แก้ปัญหาแบบใช้คนกลาง
       ให้ผู้มีอำนาจตัดสินชี้ขาด เช่น นายกรัฐมนตรี ผู้มีอำนาจในเขตตำบลหนองแหน






     

Stakeholders | ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders)
แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง (Primary stakeholders) เป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจหรือโครงการและได้รับผลกระทบโดยทางตรงทั้งทางบวก (ผู้ได้รับประโยชน์และทางลบ คือ
             - ชาวบ้าน
2. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอง (Secondary stakeholders) คือ
- หน่วยงานภาครัฐ
- สื่อสำนักข่าว
3. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก (Key stakeholders) คนที่มีอิทธิพลหรือมีความสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการหรือความอยู่รอดขององค์การ คือ
            - กลุ่มโรงงานรับกำจัดขยะ






กฎหมาย

พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
มาตรา 37 : ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการโรงงานที่มีสภาพที่ก่อให้เกิดอันตราย ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งระงับการกระทำ ให้ไปปรับปรุงหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง

มาตรา 39 : ผู้ประกอบการใดไม่ทำตามพระราชบัญญัติโรงงานมาตรา 37 มีสภาพที่ก่อให้เกิดอันตราย ให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ สั่งให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานนั้นหยุดประกอบกิจการโรงงานทันที 

แหล่งอ้างอิง

แหล่งข่าวที่มา http://www.thia.in.th/uploads/file/2014%20Febuary_aor/nhongnae%20final%20febuary%2014.pdf

แหล่งที่มาของข่าว : http://www.thairath.co.th/content/485212

แหล่งข้อมูลเอกสาร : นายจร เนาวโอภาส สมาชิกอบต. หนองแหน

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

The circle of conflict | วงกลมแห่งความขัดแย้ง


ผลประโยชน์ : เรื่องรายได้  กำไรจากผู้ประกอบกิจการ
โครงสร้าง : การจัดการเรื่องของบ่อขยะในเรื่องของกลิ่นและน้ำเสีย
ความสัมพันธ์ : การใช้อารมณ์ทั้งสองฝ่าย จึงทำให้เกิดการสูญเสีย




Conflict mapping | แผนที่ความขัดแย้ง



Conflict cycle | วัฏจักรของความขัดแย้ง



ขั้นแรก ความขัดแย้งที่แฝงเร้น : ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากบ่อขยะ
ขั้นที่สอง ความขัดแย้งขั้นเปิดเผย : ชาวบ้านร้องเรียนเรื่องผลกระทบจากบ่อขยะ
ขั้นที่สาม ความขัดแย้งที่เพิ่มมากขึ้น : มีการชุมนุมประท้วงเรียกร้องต่อหน่วยงานต่างๆ
ขั้นที่สี่ สถานการณ์อับจน : มีผู้เสียชีวิตโดยการฆาตกรรม
ขั้นที่ห้า ความขัดแย้งลดลง : มีหน่วยงานภาครัฐ เข้ามาช่วยไกล่เกลี่ย และช่วยเหลือชาวบ้าน
ขั้นที่หก การมีข้อตกลงร่วมกัน : หาแนวทางในการอยู่ร่วมกันระหว่างโรงงานและชาวบ้าน


Conflict timeline | เส้นลำดับเวลาความขัดแย้ง

พ.ศ. 2545 - มีนายทุนจากภายนอกเข้ามาซื้อที่ดิน เพื่อขุดหน้าดินไปขาย
พ.ศ. 2548 - มีธุรกิจบ่อขยะเข้ามา
พ.ศ. 2550 - เริ่มมีกลิ่นและน้ำเสียจากบ่อขยะ
พ.ศ. 2552 - ชาวบ้านร้องเรียนหน่วยงานภาครัฐ
พ.ศ. 2553 - มีการชุมนุมประท้วงโรงงานฟิวชั่น เกี่ยวกับการปล่อยน้ำเสียลงสู่นาข้าวของชาวบ้าน
                   หน่วยงานภาครัฐจึงตั้งคณะกรรมการเข้ามาแก้ไขปัญหา
พ.ศ. 2554 - ชุมชนชะลอการร้องเรียน เนื่องจากคุณสุเทพ ทองคำ 1 ในแกนนำถูกยิงเสียชิวิต
พ.ศ. 2555 - แจ้งความบริษัท KSD รีไซเคิล ข้อหาลักลอบทิ้งของเสียอันตราย ในพื้นที่บ่อ 15 ไร่
                    จนในที่สุดบ่อ 15 ไร่ ก็ถูกปิดตัวลง
พ.ศ. 2556 - ผู้ใหญ่ประจบ เนาวโอภาส 1 ในแกนนำ ถูกยิงเสียชีวิต จับมือปืนและผู้จ้างวานได้
พ.ศ. 2557 - ศาลตัดสินประหารผู้จ้างวานในคดีผู้ใหญ่ประจบ ส่วนมือปืนให้การเป็นประโยชน์ลด
                    โทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต
พ.ศ. 2559 - ร้องเรียนบ่อขยะ กทม. เรื่องกลิ่นเหม็นของขยะ




แผนที่แสดงสถานะสุขภาพของประชากรที่ได้รับผลกระทบทางกลิ่นจากบ่อขยะ



ผลกระทบต่อสุขภาพจากกากขยะอุตสาหกรรมที่ปนเปื้อนในพื้นที่

       จากเหตุการณ์การลักลอบทิ้งการขยะอุตสาหกรรม พื้นที่ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา จนเป็นสาเหตุของการเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประเด็นที่เห็นเด่นชัดคือการปนเปื้อนของสารพิษลงสู่นํ้าใต้ดินและส่งผลต่อการใช้นํ้าในการอุปโภคบริโภคของประชาชน ตลอดจนผลกระทบต่อการปศุสัตว์ ที่ทำให้เกิดการแท้งลูกของสุกรในเกษตรกรของฟาร์มสุกรหลายแห่งในพื้นที่ จึงเป็นสาเหตุของการเกิดความวิตกกังวลว่าการปนเปื้อนของสารพิษนั้น จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่ อย่างไรและรุนแรงเท่าใด โดยผลจากการพิสูจน์ชนิดของสารพิษที่ปนเปื้อนในขั้นต้น พอที่จะสรุปได้ถึงสารพิษที่พบส่วนใหญ่เป็นสารพิษในกลุ่มของสารพิษที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก ซึ่งชนิดที่พบในปริมาณที่มากที่สุด ได้แก่ พีนอล (phenol) และบิสฟีนอล เอ (Bis-phenol A) จากการวิเคราะห์พบว่ามีค่าสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานนํ้าดื่มประมาณ 250 เท่าและบางจุดพบสูงกว่าค่ามาตรฐานถึง 500 เท่า ซึ่งระดับการปนเปื้อนที่พบนี้ มีความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพ หากมีการนำนํ้ามาใช้ในการอุปโภค บริโภค

ฟีนอล เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร?
       จากการประเมินลักษณะของการสัมผัสของประชาชนในพื้นที่หนองแหนนั้น โอกาสในการรับสัมผัสได้มากที่สุดคือ การสัมผัสผ่านทางผิวหนังในกรณีที่ใช้นํ้าที่มีการปนเปื้อนและการกิน/ดื่มนํ้าที่มีการปนเปื้อน เนื่องจากฟีนอลที่พบที่หนองแหน มักพบในแหล่งนํ้าซึ่งสามารถระเหยได้น้อยมาก ฟีนอลและบิสฟีนอล เอ มีโอกาสที่จะเกิดการสะสมในห่วงโซ่อาหารได้ โดยเฉพาะในสัตว์ที่พบว่าฟีนอลสามารถพบการตกค้างและสะสมในสัตว์นํ้าและบิสฟีนอล เอ สามารถพบหลักฐานการตกค้างในสัตว์หลายชนิด แต่ในพืชอาหารยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนถึงการตกค้างจากการปลูกแหล่งปนเปื้อน

ผลกระทบที่สามารถพบได้ จากสารพิษที่ปนเปื้อน
       กลุ่มประชากรที่ไวต่อการตอบสนองของการได้รับผลกระทบจากฟีนอล และบิส ฟีนอล เอ คือกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่สารประกอบทั้งสองชนิดนี้ สามารถเกิดพิษต่อการเจริญพันธุ์ ซึ่งสามารถส่งผลต่อทารกในครรภ์ที่ระดับการสัมผัสในพื้นที่หนองแหนนี้ อาจส่งผลต่อนํ้าหนักตัวของทารกในครรภ์ และ บิสฟีนอล เอ ส่งผลต่อความผิดปกติของสมอง พฤติกรรมและการเป็นหนุ่มเป็นสาวที่เร็วกว่าปกติในเด็กได้ ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์และเด็กจึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สูงกว่าในผู้ใหญ่ สำหรับผู้ที่รับสัมผัสผ่านทางผิวหนัง มักจะพบอาการระคายเคืองบริเวณที่สัมผัส

แล้วเราควรทำอะไรต่อไป เพื่อลดความเสี่ยงและจัดการกับผลกระทบ จนทำให้ความเสี่ยงลดลงจนอยู่ระดับปกติ
       เนื่องจากการตรวจติดตามปริมาณของการปนเปื้อนฟีนอลและบิสฟีนอล เอ รวมทั้งสารพิษชนิดอื่น ยังจำเป็นต้องตรวจสอบระดับที่ปนเปื้อนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นยังจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลการตรวจติดตาม ทางสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูให้สารพิษอยู่ในระดับที่ปลอดภัย การดำเนินการที่ได้ลงมือทำในพื้นที่ ได้แก่ การติดตั้งระบบการกำจัดฟีนอลในน้ำ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยแล้วนั้นก็เป็นการดำ เนิน การเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า อย่างไรก็ตาม กิจกรรมที่จำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องคือการดำเนินการตรวจสอบคุณภาพน้ำว่ายังอยู่ในระดับที่ปลอดภัยหรือไม่ รวมทั้งการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ในพื้นที่ด้วย



ประจบ เนาวโอภาส

       ชื่อผู้ใหญ่ประจบ เนาวโอภาส หรือผู้ใหญ่จบ ก่อนหน้านี้น้อยคนนักที่จะรู้จักผู้ใหญ่จบ หากประเด็นปัญหาการปนเปื้อนสารพิษ จากขยะอุตสาหกรรมในพื้นที่หนองแหนถูกเผยแพร่ออกทางสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือสื่อออนไลน์ ก็ทำให้คนทั่วไปรู้จักผู้ใหญ่จบ ในฐานะหนึ่งในแกนนำเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้กับปัญหาดังกล่าว
       ผู้ใหญ่จบ เป็นคนหนองแหนโดยกำเนิด ในครอบครัวของคุณพ่อจวงและคุณแม่มาลี เนาวโอภาส เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2513 มีพี่ชาย 2 คนคือ ประจักร์ และจร เนาวโอภาส ครอบครัวไม่มีฐานะรํ่ารวย ไม่มียศถาบรรดาศักดิ์ เมื่อจบการศึกษาระดับ ม.5 ก็ออกทำงานรับจ้าง จนกระทั่งได้สร้างครอบครัวกับนางอรุณรัตน์ มีบุตรธิดา – คน คือ นายวัชรพงษ์ นางสาวศิริลักษณ์ และเด็กชายชยกร
       ชีวิตผู้ใหญ่จบเริ่มต้นทำงานเพื่อชุมชน ตั้งแต่ปี 2541 เมื่อได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง ของหมู่ 14 ตำ บลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา และในปี 2545 ก็ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่จบปฏิบัติหน้าที่ผู้ใหญ่บ้าน ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา ตระหนักถึงความอยู่ดีมีสุขของชาวบ้าน ยึดหลักของความเป็นธรรม ถูกต้อง เคารพสิทธิของผู้อื่นในปัญหาที่เกิดขึ้น มีผลงานพัฒนาชุมชนดีเด่น รางวัลหมู่บ้านปลอดยาเสพติดดีเด่นในระดับอำเภอ และรางวัลชมเชย หมู่บ้านปลอดยาเสพติดดีเด่นระดับจังหวัด ให้ความร่วมมือในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมของ สภ.หนองแหน จนเมื่อเกิดเหตุการณ์ร้องเรียน ของชุมชนจากเรื่องกลิ่นเหม็นจากโรงงาน กลิ่นเหม็นจากบ่อขยะฝังกลบ การลับลอบทิ้งนํ้าเสียลงสู่พื้นที่สาธารณะ สร้างความเดือดร้อน เสียหาย เกิดอันตรายต่อสุขภาพ กระทบต่อทรัพยากร ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมถึงการประกอบอาชีพ ผู้ใหญ่จบก็เป็นหนึ่งในแกนนำชุมชนในการผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาและ ปกป้องสิทธิของชุมชนมาโดยตลอด การต่อสู้ทำให้ผู้ใหญ่จบต้องพบทั้งความไม่เป็นธรรม การถูกละเมิดสิทธิ การถูกคุกคามในชีวิต หากด้วยความตั้งใจที่จะแก้ปัญหา ผู้ใหญ่จบก็ยังมุ่งมั่นทำงาน ร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆ ทั้งในระดับพื้นที่จนถึงระดับประเทศ หากปัญหาก็ได้รับการแก้ไขไปอย่างเชื่องช้า จวบจนวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556 วันที่นำความสูญเสียมาสู่ครอบครัวเนาวโอภาส และชาวหนองแหน เมื่อผู้ใหญ่จบถูกมือปืนยิงเสียชีวิต หากด้วยความดีที่ได้กระทำ ไว้ ภายหลังจากการเสียชีวิต กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยได้มอบประกาศเชิดชูเกียรติผู้ได้ทำ คุณงาม ความดี ซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ในการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นประโยชน์อย่างมากแก่ทางราชการและประชาชน และได้มอบเข็มรูปสิงห์ทองคำ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ โดยนายชวน ศิรินันท์พร อธิบดีกรมการปกครอง และกรมสืบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณยกย่องผู้พิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น โดยนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
       ถึงแม้วันนี้ผู้ใหญ่จบจะจากไป หากสิ่งที่ผู้ใหญ่จบได้สร้างไว้ จะเป็นแรงผลักดันในการแก้ไขปัญหา และสร้างหนองแหนให้เป็น ชุมชนที่น่าอยู่เหมือนดังเดิม ด้วยมือของทุกๆ คน

พบสารพิษอะไรในหนองแหน

       จากการเก็บตัวอย่างน้ำ ใต้ดินจากบ่อนํ้าตื้นของประชาชน บ่อนํ้าที่จะใช้เป็นประปาหมู่บ้าน และพื้นที่ปศุสัตว์ การเก็บตัวอย่างดินตามความลึกในพื้นที่ของที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานประกอบการกำจัดของเสียอุตสาหกรรมที่ประชาชนร้องเรียนว่าอาจมีการปนเปื้อนสารอันตราย และตัวอย่างตะกอนดินและนํ้าจากคลองตาดน้อยซึ่งเป็นคลองในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และบ่อขุดของประชาชน โดยตัวอย่างทั้งหมดได้นำมาวิเคราะห์ตรวจสอบหาสารปนเปื้อนกลุ่มสารอินทรีย์และโลหะหนัก เบื้องต้นพบสารปนเปื้อนในตัวอย่างเช่น แมงกานีส สังกะสี สารหนู และตะกั่ว อยู่หลายจุด สารประกอบฟีนอล (phenol) และอนุพันธ์ กระจายอยู่ในหลายจุด โดยส่วนใหญ่พบในค่าเกินค่ามาตรฐาน และพบสารที่ใช้ในการผลิตในพอลิมอร์ (polymer additives) เช่น Bis-phenol A และ Phthalate

สารเหล่านี้อัตหรายอย่างไร

  • ฟีนอล (Phenol) อาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ ความบกพร่องทางระบบประสาท มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ มีผลต่อตับ ระบบหัวใจและหลอดเลือดทำให้หัวใจล้มเหลว
  • บิส ฟีนอล เอ (Bis-phenol A) รบกวนระบบต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมน เกี่ยวกับ มะเร็งเม็ดเลือดมะเร็งเต้านมในมนุษย์
  • พาทาเลท (Phthalte) สารที่รบกวนระบบต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมน เป็นไปได้ในการเป็นสารก่อมะเร็ง อาการหอบหืดในเด็ก ความผิดปกติของปอด มีผลต่อการสร้างกระดูกของหนูที่กำลังเจริญเติบโต จำนวนหนูที่มีชีวิตหลังคลอดลดลง

การเปลี่ยนแปลงที่คืบคลาน

       ประมาณปี 2545 ชุมชนเริ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงในชุมชนเริ่มมีนายทุนจากภายนอกเข้ามาหาซื้อที่ดินเพื่อขุดหน้าดินขาย ในขณะนั้น ชุมชนเห็นว่าถึงแม้จะมีการตักดินไป แต่ก็ยังสามารถใช้น้ำในบ่อได้ ทำให้ไม่ขาดแคลนนํ้า ทำให้เกิดบ่อดินร้างกระจายอยู่โดยรอบชุมชน ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็เริ่มมีนายทุนอีกกลุ่มเข้ามาซื้อที่ดินบ่อลูกรังร้างเพื่อฝังกลบขยะ โดยได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง หากขยะจำ นวนมากขึ้นๆ ที่นำมาฝังกลบภายในพื้นที่ก็ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นรุนแรง และฝุ่นที่ฟุ้งกระจาย ไปทั่วบริเวณ
       ต่อมามีเริ่มมีบริษัทรีไซเคิลนํ้ามัน และบริษัทและรับกำจัดของเสียอันตราย เข้ามาเปิดดำเนินการในพื้นที่ชุมชนได้มีการยื่นหนังสือคัดค้านการเปิดกิจการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากกลิ่นเหม็นและน้ำ เสีย มีการพาสื่อมวลชนลงพื้นที่เพื่อให้เห็นสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น จนกระทั่งปี 2555 ชาวบ้านเริ่มสังเกตเห็นว่ามีรถบรรทุกวิ่งเข้าออกในชุมชนเป็นปริมาณมาก จนเกิดกรณีรถติดขณะที่ชาวบ้านไปทำงานในสวน ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2555 ชาวบ้านตำบลหนองแหนได้แจ้งตำรวจให้จับกุมรถบรรทุกที่ลักลอบทิ้งนํ้าเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมในบ่อดินลูกรังขนาด 15 ไร่ การทิ้งนํ้าเสียในพื้นที่ตำบลหนองแหน มีทั้งการทิ้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และการลับลอบทิ้งนํ้าเสีย
       ความเคลื่อนไหวของชุมชนต่อกรณีดังกล่าว มีทั้งการร้องเรียนต่อ อบต.จังหวัด จนถึงการยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อให้รับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดเพื่อแก้ไขปัญหา และคณะกรรมการระดับอำเภอตรวจสอบติดตาม และเมื่อปัญหาได้กลับมาสู่การรับรู้ของสาธารณชนอีกครั้งหนึ่งก็มีหลายหน่วยงานทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นกรม สอบสวนคดีพิเศษ กรมทรัพยากรนํ้าบาดาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ กรมอนามัย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด มหาวิทยาลัยนเรศวรสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น
       ข้อมูลจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แสดงให้เห็นว่า มีการลับลอบทิ้งกากของเสียอันตรายหลายจุดทั้งในตำบลหนองแหนและใกล้เคียง โดยพื้นที่หนองแหนมีจุดเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมีอันตรายในสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 
       1.โรงงานรีไซเคิลนํ้ามันซึ่งตั้งอยู่ติดกับคลองชลประทาน ตรงกันข้ามกับจุดสูบนํ้า เพื่อทำนํ้าประปาหมู่บ้าน และโรงงานรับกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรมซึ่งตั้งอยู่ติดริมลำห้วยตาดน้อยที่ไหลไปยังหมู่บ้าน
       2. หลุมฝังกลบขยะทั้งขยะจาก กทม. และกากของเสียจากโรงงาน 
       3. บ่อดินลูกรังซึ่งมีการลักลอบทิ้งกากของเสีย ข้อมูลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างนํ้าของกรมทรัพยากรนํ้าบาดาล พบว่ามีการปนเปื้อนสารอันตราย โดยเฉพาะสารประกอบจำพวกฟีนอลในบ่อนํ้าตื้นหลายบ่อในลักษณะ กระจายทั่วพื้นที่หนองแหน จึงได้ห้ามชาวบ้านนำมาใช้บริโภค บางบ่อสามารถบริโภคได้ หากมีการบำบัดลดปริมาณเหล็กและแมงกานีสก่อน ทั้งนี้ข้อมูลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง นํ้าของกรมโรงงานอุตสาหกรรมและกรมควบคุมมลพิษก็มีผลไปในทิศทางเดียวกัน

ที่นี่หนองแหน

     

       ตำบลหนองแหน ตำบลเล็กๆ ในอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ชื่อหนองแหนมาจากในพื้นที่มีหนองนํ้าขนาดใหญ่ ที่มีแหนขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นที่ราบลูกฟูกเชิงเขา ลาดจากทางใต้ขึ้นมาทางเหนือของตำบล ภายในตำบลมีคลองชลประทาน รับนํ้าจากโครงการชลประทานฝายท่าลาดนอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังนิยมใช้นํ้าจากบ่อนํ้าตื้น ซึ่งมีอยู่เกือบทุกครัวเรือน พื้นที่ตำบลหนองแหนเป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการเกษตรกรรม ปลูกพืชไร่ พืชสวน และการปศุสัตว์ มีการเพาะปลูกพืชมากมาย ไม่ว่าจะเป็นข้าว มะม่วง มันสำปะหลัง ยางพารา และทำฟาร์มหมูกันหลายเจ้า ถือว่าเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคตะวันออก